เมนู

กถาว่าด้วยทวารแห่งวจีกรรม



ก็ในกถาว่าด้วยทวารแห่งวจีกรรม ชื่อว่า วาจา มี 3 อย่าง คือ
เจตนา วิรติ สัททะ (เสียง) บรรดาวาจา 3 อย่างเหล่านั้น วาจานี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ เหล่านั้น เป็นวาจาสุภาษิต มิใช่
วาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ เป็นวาจาที่ผู้รู้ทั้งหลายไม่ติเตียน ดังนี้
ชื่อว่า เจตนาวาจา. วาจานี้ว่า การงด การเว้น จากวจีทุจริต 4 ฯลฯ อันใด
นี้ตรัสเรียกว่า สัมมาวาจา ดังนี้ ชื่อว่า วิรติวาจา. วาจานี้ว่า จริงอยู่
วาจาที่เปล่ง คลองแห่งคำ การเปล่งขึ้น เสียงกึกก้อง ทำเสียงให้กึกก้อง วาจา
การเปล่งวาจา ดังนี้ ชื่อว่า สัททวาจา.
บรรดาวาจาทั้ง 3 เหล่านั้น คำว่า วจีกรรมทวาร มิใช่เป็นชื่อของ
เจตนามิใช่เป็นชื่อของวิรติ แต่ว่า วิญญัติอย่างหนึ่งซึ่งมีเสียงร่วมด้วยมีอยู่ นี้ชื่อ
ว่า ทวารแห่งวจีกรรม. วจีทวารที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาตรัสไว้ว่า
รูปที่เป็นวจีวิญญัตินั้น เป็นไฉน ? การพูด การเปล่งออก คลองแห่งวาจา
การเปล่งขึ้น เสียงกึกก้อง การทำเสียงให้กึกก้อง วาจา การเปล่งวาจา แห่ง
บุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากตะ อันใด
ดังนี้ นี้เรียกว่า วาจา. วิญญัติ การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้
ความหมายทางวาจา อันใด รูปนี้นั้น เรียกว่า วจีวิญญัติ.
จริงอยู่ เมื่อเราตรึกว่า เราจักกล่าวคำนี้ เราจักกล่าวคำนั้น ชื่อว่า
เสียงอันแผ่ไปด้วยวิตก ย่อมเกิดขึ้น. วาทะนี้มาในมหาอรรถกถาว่า เสียงนี้
มิได้รู้ได้ด้วยโสตะ รู้ได้ด้วยใจ ดังนี้ แต่ในอรรถกถาที่มาทั้งหลาย อธิบาย